วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

คนยุคใหม่ต้องคิดให้เป็น

คนยุคใหม่ต้องคิดให้เป็น

สำหรับสังคมในยุคสมัยใหม่นั้นต้องบอกว่าเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วไปแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา, เศรษฐกิจ, การติดต่อสื่อสารและสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าใครคิดจะถามก็เรียกว่าตามกันไม่ทันเลยทีเดียว ทำให้ส่วนประกอบสำคัญในการคงอยู่ซึ่งโลกยุคปัจจุบันก็คือ “การคิดให้เป็น” เพื่อเป็นตัวช่วยในทางความคิดและส่งเสริมคุณภาพชีวิตในยุคแห่งความเร่งด่วนนี้

“การคิดเป็น” ในที่นี้หมายถึงการใช้ทักษะการคิดในทุกรูปแบบและเป็นการคิดที่เกิดผลเชิงบวก โดยหลักทั่วไปแล้วการกระทำต่างๆ จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับความคิดของเรา ถ้าคิดดีทำดีผลที่ตามมาก็จะเป็นสิ่งที่ดี  ถ้าคิดไม่ดีทำไม่ดี แน่นอนว่าสิ่งเลวร้ายก็จะตามมานั่นเอง เมื่อการคิดเป็น เป็นการคิดในทางที่ดีมีประโยชน์ ก็จะส่งผลทำให้เกิดเป็นการกระทำที่ออกมาในทางที่ดีนั่นเอง การคิดเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่นและไม่มีปัญหา เพราะไม่ว่าจะต้องอยู่ในสภาวการณ์ใดก็แล้วแต่ การคิดเป็น จะช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องและสามารถปรับตัวรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาได้นั่นเอง แน่นอนว่าการคิดเป็นก็จะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตรวมไปถึงหน้าที่การงานของเราดำเนินไปในทางที่ดีและถูกต้องด้วยเช่นกัน

 


     

1. หลักการในการใช้ความคิดและคิดให้เป็น

ในหลักของการใช้ความคิดและการคิดเป็นที่ดีนั้น เราจำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดปลีกย่อยดังต่อไปนี้       


2. ความคิดในรูปแบบการสื่อความหมาย (Communication Thinking) 

จะหมายถึงทักษะในการถ่ายทอดความคิดของตัวเราเองให้ผู้อื่นเข้าใจและรับรู้ถึงสิ่งที่ต้องการจะสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง โดยผ่านการสื่อสารไม่ว่าจะในรูปแบบของการ การฟัง(Listening), การอ่าน(Reading), การพูด (Speaking) การเขียน (Writing) และการอธิบาย (Explaining) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนเราสามารถสื่อสารความหมายและความคิดให้กับผู้อื่นได้เข้าใจอย่างตรงกัน แน่นอนว่าเมื่อการสื่อสารถูกต้องแล้วก็จะส่งผลทำให้เกิดกระบวนการ การทำความเข้าใจและเรียนรู้ตามมาด้วยนั่นเอง 


3. มีการคิดแบบเชิงระบบ (Systems Thinking)

เป็นการจัดระบบความคิดของตัวเองให้มีระบบและเรียบเรียงความสำคัญของเนื้อเรื่องก่อนหลัง ซึ่งการจัดระบบความคิดจะส่งผลทำให้การเดินเนินชีวิตของเราง่ายขึ้นนั่นเอง


4. มีการคิดแบบเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

อีกหนึ่งรูปแบบทางความคิดที่ต้องใช้ควบคู่กับความคิดเชิงระบบ เป็นรูปแบบความคิดที่ใช้วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมากจากความคิดเชิงระบบ โดยจะต้องเรียงความสำคัญมากน้อยก่อนและหลังได้อย่างถูกต้อง และคิดวิเคราะห์ผลที่ได้และเสียตามมาทีหลัง เพื่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดและการติดสินใจ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะซื้อโทรศัพท์สักเครื่อง อาจจะต้องจัดระบบความคิดก่อนว่าจะต้องศึกษาข้อมูลและทำอะไรก่อนและหลัง จากนั้นก็จะมาวิเคราะห์ว่าเมื่อซื้อมาแล้วจะส่งผลดีในเรื่องใดและผลเสียในเรื่องใดบ้าง เช่น อาจจะดีในเรื่องการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อเสียก็อาจจะต้องเป็นหนี้และค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ และสุดท้ายก็จะมาถึงบทสรุป เมื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียแล้วก็จะมาถึงผลสรุปว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อนั่นเอง


5. มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 

อีกหนึ่งรูปแบบความคิดที่จำเป็นมากในปัจจุบัน ความคิดอย่างสร้างสรรค์นั้นจะเป็นในรูปแบบของการสร้างแนวคิด, ความคิดและรูปแบบการคิดที่แตกต่างจากคนอื่น แต่สามารถทำประโยชน์ให้กับตัวเองได้ ซึ่งส่วนนี้จะสามารถต่อยอดไปในการทำธุรกิจและรูปแบบการให้บริการได้นั่นเอง       


6. จริยธรรมทางความคิด (Ethical Thinking) 

เป็นรูปแบบการคิดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนในสังคม ซึ่งความคิดประเภทนี้จะส่งผลทำให้ตัวเราแสดงออกทางสังคมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการวางตัวได้เหมาะสมทั้งในการดำเนินชีวิตทั่วไปและการทำงาน ซึ่งการมีจริยธรรมทางความคิดจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาคุณภาพของตัวเองและผลงานที่ออกมาได้


อย่างไรก็ตามรูปแบบทางความคิดของคนเรานั้น อาจจะไม่สามารถแยกประเภทได้อย่างชัดเจน เพราะ 1 ล้านคนต่างก็มีความคิดที่แตกต่างกัน 1 ล้านความคิด แต่สิ่งที่สามารถปรับและกำหนดแนวคิดและการใช้ชีวิตของเราได้นั่นก็คือ “การคิดให้เป็นและคิดแต่ในสิ่งดี” นั่นเอง


วิธีและหลักการพูดง่ายๆ ที่ทำให้คนชอบ

 วิธีและหลักการพูดง่ายๆ ที่ทำให้คนชอบ

การพูดคุยถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการสื่อสารของมนุษย์เรา และแน่นอนอย่างคำกล่าวที่ว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย” (ปัจจุบันมีการแผลงไปจนเป็น “พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากเป็นสี”) ความหมายของมันก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า การพูดแต่ในสิ่งที่ดีก็จะเกิดแต่สิ่งดีกับตัวเรา และเมื่อพูดแต่สิ่งไม่ดีก็จะทำให้เกิดแต่สิ่งไม่ดีกับตัวเรา เช่นกัน เพราะฉะนั้น การพูดของคนเรานั้นสามารถสร้างได้ทั้งมิตรและศัตรูเลยทีเดียว และแน่นอนว่าหลายคนก็อยากสร้างมิตรมากกว่าศัตรูแน่นอน ซึ่งก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้



1.มีภาษากายที่ดี

ภาษากาย ในที่นี้หมายถึง บุคลิกภาพของตัวผู้พูดเอง การตอบสนองในการพูดและการกระทำหรือท่วงท่าในการพูดจาก สิ่งเหล่านี้จะสามารถแปลงความหมายของคำพูดได้เป็นอย่างดี ซึ่งการโต้ตอบการสนทนาและการพูดจากันเมื่อแสดงท่าทางให้สอดคล้องก็จะทำให้คำที่เราพูดมีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือขึ้นมา อย่างเช่น พูดว่า “ผมสนใจสิ่งที่คุณพูดมากๆ” แล้วก็ทำท่าทางสนใจให้ผู้พูดได้เห็นว่าเราสนใจ กลับกันถ้าพูดในประโยคเดียวกัน แต่เรากลับหันไปมองทางอื่นหรือสนใจอย่างอื่นแทน ผลที่ได้ออกมาก็จะมีความหมายที่ตรงข้ามไปเลยนั่นเอง นอกจากนั้นภาษาการยังแสดงการยิ้มแย้มด้วยเช่นกัน 


2.วาจาสุภาพ

การพูดจาสุภาพถือว่าเป็นพื้นฐานของการพูดจาน่าฟังเลยก็ว่าได้ เพราะคงไม่มีใครในโลกนี้ที่ชอบคนที่พูดจากหยาบคายแน่นอน การใส่น้ำเสียงลงในคำพูดให้ฟังดูแล้วผ่อนคลาย พูดลงท้ายคำว่า ครับ/ค่ะ และให้เกียรติผู้ฟัง และแน่นว่าการพูดจาสุภาพในที่นี้ยังมีความหมายถึง จังหวะและรูปแบบการพูดด้วยเช่นกัน ผู้พูดไม่ควรพูดแต่เรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ หรือพูดแต่เรื่องของตัวเอง ควรให้จังหวะในการโต้ตอบของผู้ฟังบ้าง และไม่ควรใช้ถ้อยคำและวาจาที่กระทบกระเทือนส่งผลต่อผู้ฟังนั่นเอง


3.พูดชัดถ้อยชัดคำและสามารถเข้าใจได้ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

       เป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนมองข้าม แต่ที่จริงแล้วการพูดชัดถ้อยชัดคำถือเป็นเสน่ห์ในการพูดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว การพูดชัดถ้อยชัดคำในที่นี้หมายถึง การพูดจาฉะฉานชัดเจนน่าฟัง มีการพูดออกจังหวะและเว้นจังหวะได้เหมาะสม ไม่พูดเร็วและรัวมากเกินไปจนผู้ฟังตามแทบไม่ทันหรืออาจจะทำผู้ฟังเบื่อที่จะฟังและไม่สนใจในบทสนทนาแทน รวมไปถึงการไม่พูดช้าจนเกินไป ซึ่งจะพาลให้ง่วงนอน การออกเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคำควบกล้ำ อักขระ ล.ลิง ร.เรือ ควรให้ถูกต้องและชัดเจนนั่นเอง (การออกเสียง อักขระ ล.ลิง ร.เรือ ควรฝึกตั้งแต่เด็กๆ เพราะผู้ใหญ่ลิ้นจะแข็งและเกิดความเคยชินจนฝึกยาก)


3.พูดให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกร่วม

อีกหนึ่งจุดที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการพูดก็คือ การทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในเนื้อหาที่เรานำเสนอหรือพูดออกไป ซึ่งสามารถทำได้แบบง่ายๆ ด้วย การสบตากับผู้ฟังอย่างทั่วถึง, ตั้งคำถามในขณะพูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสงสัยและสนใจแล้วค่อยๆ อธิบายเพื่อนำไปสู่คำตอบ หรือแม้แต่การสอบถามผู้ฟังบ้างในบางจังหวะเพื่อดึงความสนใจของผู้ฟัง และที่สำคัญก็คือ สามารถใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสื่อสารให้ผู้ฟังรู้ความหมายได้แบบไม่ติดคิดหรือแปลเพิ่ม


4. การพูดถูกกาลเทศะ

“กาล” แปลว่า เวลา

“เทศะ” แปลว่า สถานที่หรือถิ่น 

เมื่อนำ “กาล”และ “เทศะ” มารวมเข้าด้วยกันจะได้คำว่า “กาลเทศะ” ซึ่งความหมายของมันก็คือ ความเหมาะสมในสถานที่นั้นๆ ซึ่งการพูดให้ถูกกาลเทศะ ก็จะมีความหมายว่า การพูดให้ถูกและเหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่นั้นๆ จุดนี้ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าพูดไม่ถูกกาลเทศะจากเรื่องดีอาจจะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ดีได้นั่นเอง


จะเห็นได้ว่าการสื่อสารด้วยคำพูดหรือการพูดจานั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญของมนุษย์เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อพูดดีน่าฟังสิ่งดีๆ ก็จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการงานที่ดี, เพื่อนที่ดีและชีวิตที่ดีนั่นเอง


บอกต่อ 5 หลักการง่ายๆ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

บอกต่อ 5 หลักการง่ายๆ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ก็คงต้องบอกว่าการทำงานร่วมดูเหมือนจะเป็นพื้นฐานของการทำงานแทบทุกอย่าง คงจะมีน้อยคนนักที่จะทำงานคนเดียวจนเสร็จสิ้นได้ทุกกระบวนการ แน่นอนว่าการทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จและผลงานออกมาตรงตามที่ต้องการนั้น มีหลักการง่ายๆ ที่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้



1. มองอารมณ์ของเพื่อนร่วมงานให้ออก

ข้อนี้คุณอาจจะต้องเป็นคนช่างสังเกตนิดหน่อย ไม่ว่าจะทำงานอะไรที่ต้องทำกันเป็นทีมสิ่งแรกที่จะต้องทำก่อนก็คือ การสำรวจอารมณ์ของทีมงานที่เราต้องทำงานร่วมด้วยก่อน เพื่อที่จะได้สามารถรับมือกับสภาพอารมณ์ในตอนนั้นได้ถูกและสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดตามมาและมีผลกับชิ้นงานได้ เช่น เมื่อมีเพื่อนร่วมงานที่มีสภาพจิตใจแย่ ไม่ว่าจะทะเลาะกับแฟนหรือเสียใจอะไรต่างๆ มาก็ตาม ก็อาจจะเลี่ยงให้เขาไปทำงานที่ไม่ละเอียดมากและสามารถทำได้แบบง่ายๆ ก่อนและอาจจะเลี่ยงการพูดกระทบกระทั่งด้วย


2. มีทัศนคติที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและรับฟังความคิดเห็น

การมีทัศนคติที่ดีกับเพื่อนร่วมงานนั้นถือว่าสำคัญมาก เพราะจุดนี้จะทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้กับทุกคนในทีม ยอมรับฟังเหตุผลจากผู้อื่นไม่ว่าเขาคนนั้นจะตำแหน่งน้อยกว่าคุณมากแค่ไหนก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้งานออกมามีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นและรับจุดบกพร่องคนทุกระดับก็จะส่งผลดีต่อชิ้นงานที่ออกมา เพราะการมองจุดพกพร่องในชิ้นงานหรือการมองผลงานจากหลากหลายมุมมองจะทำให้ชี้จุดเด่นและจุดด้อยของชิ้นงานนั้นได้ดีขึ้น


3. ยอมรับข้อบกพร่องของตัวเองและแก้ไข

อีกหนึ่งข้อที่คนส่วนมากมักจะลืมไปนั่นก็คือ การยอมรับในข้อผิดพลาดและความบกพร่องของตัวเอง ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าตัวเองเก่งกาจไร้ซึ่งข้อผิดพลาด แต่จริงๆ แล้วความคิดนั่นผิด เพราะ “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ไม่มีใครที่จะทำอะไรได้สมบูรณ์แบบอย่างแน่นอน และการจะรับฟังข้อผิดพลาดของตัวเองได้ ก่อนอื่นก็ต้องลด ทิฐิ หรือ Ego ของตัวเองลงก่อน จากนั้นก็ค่อยๆ รับฟังข้อผิดพลาดของเราจากผู้อื่นทีละนิดแล้วค่อยๆ พิจารณา ถ้าจริงตามที่เขาบอกก็ควรขอโทษและนำไปปรับปรุงและแก้ไข หรือถ้าไม่จริงก็ควรจะแย้งด้วยเหตุและผล โดยการอธิบายให้เข้าใจนั่นเอง


4. เป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี

ในการทำงานสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาก็คือ บางคนในทีมไม่ยอมแม้แต่จะทำงานช่วยเหลือคนอื่น เพราะคิดเพียงแค่ว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง จุดนี้ถือว่าเป็นความคิดที่ผิด การทำงานร่วมกันเป็นทีมต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความรู้ในเรื่องของการทำงานนั้นๆ แก่เพื่อนร่วมงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้งานสามารถเดินไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว อีกทั้งการเป็นผู้รับที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่ควรทำอย่างแรกก็คือ การขอบคุณและการร่วมมือที่ดีนั่นเอง เพียงเท่านี้ก็จะได้ทั้งเพื่อนร่วมงานที่ดีและงานที่มีคุณภาพ


5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและเป็นกันเอง

อีกหนึ่งข้อที่จะทำให้การทำงานแบบทีมประสบความสำเร็จได้ดีก็คือ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและเป็นกันเอง โดยเฉพาะกับตำแหน่งหัวหน้าที่ต้องเข้ามาร่วมทำงานกับลูกน้อง ควรจะให้ความสนิทและเป็นกันเองในระดับหนึ่ง เผื่อปลดความเครียดและให้เกิดความผ่อนคลาย เพื่อที่จะสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างราบรื่น หรือเพื่อนร่วมงานในตำแหน่งเดียวกันก็อาจจะมีการพูดคุย ยิ้มแย้มและทักทายกันเสมอเมื่อเจอหน้า หรือพักเที่ยงอาจจะชวนไปทานข้าวด้วยกันสักมื้อเพื่อผู้มิตร ซึ่งจะส่งผลดีต่อการติดต่อสื่อสารและชิ้นงานที่จะออกมาทั้งปัจจุบันและอนาคต


ทั้งหมดก็เป็นหลักการง่ายๆ ที่เชื่อว่าทุกคนสามารถทำได้ เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรมาก เพียงแค่ปรับเปลี่ยนแนวคิดและการปฏิบัติเล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถทำงานกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีความสุขและงานออกมาดีนั่นเอง


6 วิธีแก้ง่วงในที่ทำงานอย่างได้ผล ในแบบที่ไม่ต้องพึ่งพา “กาแฟ”

6 วิธีแก้ง่วงในที่ทำงานอย่างได้ผล ในแบบที่ไม่ต้องพึ่งพา “กาแฟ”

สำหรับคนวันทำงานแล้วล่ะก็ ต้องบอกว่าความง่วงกับการทำงานเป็นของที่มีมาคู่กันอย่างช้านาน และยิ่งคนที่ทำงานออฟฟิศช่วงบ่ายแก่ๆ ที่กินข้าวอิ่มพร้อมกับแอร์ในออฟฟิศที่เย็นสบาย แน่นอนว่าหนังท้องตึงหนังตาก็ย่อมต้องหย่อนเป็นธรรมดา และหลายคนก็มักจะต้องพึ่งพากาแฟในการแก้ง่วง ซึ่งไอเจ้ากาแฟที่ว่านี้ทราบหรือไม่ว่ามันมีแต่โทษแถมยังเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เราอ้วนได้อีกด้วย เอาเป็นว่าถ้าใครง่วงและไม่ต้องการพึงพากาแฟ เราก็มีวิธีง่ายๆ ที่ทำให้หายง่วงได้ดังนี้



1.การลุกขึ้นเดินไปมา

เมื่อคุณนั่งอยู่กับที่นานๆ แน่นอนว่าจะทำให้ง่วงอย่างไม่ต้องสงสัย การลุกขึ้นเดินไปมาถือเป็นวิธีการแก้ง่วงที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง เพราะจากการศึกษา พบว่าการเดินเป็นเวลา 20 นาที สามารถเพิ่มระดับพลังงานในร่างกายให้สูงขึ้นได้ แถมยังลดอาการอ่อนล้าที่เกิดจากการเกร็งกล้ามเนื้อขณะนั่งออกไปได้อีกด้วย แน่นอนว่าการเดินยังถือว่าเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งด้วย นอกจากจะหายง่วงแล้วยังเผาผลาญพลังงานในระดับหนึ่งทำให้ไม่เกิดโรคอ้วนอีกด้วย เรียกว่ายิงนกนัดเดียวได้นกสองตัวกันเลยทีเดียว

เพิ่มเติม : การเดินในออฟฟิศอาจจะไม่สามารถทำได้ 20 นาทีเพราะอาจจะดูเป็นการอู้งานด้วยนั่นเอง แต่การลุกเดินสัก 5 นาทีก็ทำให้หายง่วงได้แล้วเช่นกัน


2.แก้ง่วงจากการฟัง

    อีกหนึ่งวิธีการแก้ง่วงเวลาทำงานก็คือ การฟังไม่ว่าจะเป็นการฟังข่าวสาร เพลง, หรือแม้เรดิโอช่องต่างๆ จะสามารถช่วยให้เราหายง่วงได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ มีการสำรวจว่า การฟังเพลงในขณะที่กำลังทำงานอยู่นั้นจะสามารถช่วยทำให้เกิดความรู้สึกตื่นตัวและช่วยเพิ่มสมาธิได้อีกด้วย และการฟังเพลงก็ให้เน้นเพลงที่ฟังดูสนุกสนานและไม่ดังจนเกินไปนั่นเอง แต่ก็แนะนำว่าไม่ควรอินกับการฟังเพลงมากเกินไป เพราะถ้าอินมาเกินเผลอแป็บเดียวอาจจะร้องเพลงตามจนทำให้งานไม่เดินเอาได้


3.พักสายตาเถอะนะคนดี

“พักสายตาเถอะนะคนดี” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเนื้อเพลงของพี่ปู พงษ์สิทธิ์ แต่อย่างใด แต่เป็นการแก้ง่วงด้วยวิธีการพักสายตา อย่างเช่นการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หรือจ้องอะไรเดิมๆ แบบนานๆ จะทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาและง่วงนั่นเอง การพักสานตาเพื่อหันไปมองอย่างอื้น จุดอื่นจะช่วยในการแก้ง่วงได้เป็นอย่างดี อาจจะต้องใช้เวลาสัก 5-10 นาทีเดินไปที่หน้าต่างและเปิดหน้าต่างสูดอากาศอันสดชื่นจากนั้นก็มองไปที่ต้นไม้หรือสิ่งเขียวๆ จะทำให้เราสดชื่นและมีแรงกลับมาทำงานต่อนั่นเอง และการพักสายตายังช่วยในการลดอาการปวดหัวและความเครียดจากการทำงานอีกด้วย


4.ยืดเส้นยืดสาย

    การนั่งอยู่กับที่นานๆ ก็อย่างที่ทราบดีคือ อาการอ่อนล้าจากการนั่งและพาลทำให้ง่วงได้แบบง่ายดาย การลุกขึ้นมาบิดซ้ายบิดขวา กางแขนออกกว้างๆ แล้วก็สะบัดเล็กน้อยทุก 1 ชั่วโมงของการทำงานก็จะช่วยลดอาการง่วงได้อย่างน่าตกใจ แถมการทำแบบนี้ยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและทำให้เราไม่ล้าจากการนั่งกับที่นานๆ อีกด้วย


5.กิน กิน และกิน

    กินในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกาแฟหรืออาหารหนักๆ อย่างขนมหวานหรือพวกของที่ทำให้อ้วน แต่อาจจะเป็นการกินขนมขบเคี้ยวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือน้ำผลไม้ที่มีความเปรี้ยว เพื่อช่วยให้ร่างกายตื่นตัว หรือจะให้ดีก็ผลไม้ที่มีเนื้อแข็งๆ หน่อยอย่างฝรั่งหรือมะม่วง จะทำให้เราได้ทั้งการเคี้ยวแก้ง่วงและประโยชน์จากการกิน แต่ถ้าใครเผลอหยิบขนมถุงหรือขนมหวานมากินแทน รับประกันว่างานนี้อาจจะไม่ง่วงแต่จะอ้วนแทน


6.ล้างหน้า

สำหรับวิธีนี้อาจจะเป็นวิธีแรกๆ ของท่านชายและวิธีสุดท้ายของท่านหญิง เพราะการลุกขึ้นมาล้างหน้าด้วยน้ำเย็นนอกจากจะทำให้หายง่วงแล้วยังทำให้รู้สึกสดชื่นอีกด้วย หลังล้างหน้าหาน้ำเย็นๆ กินตามไปอีกสักแก้วรับประกันว่าหายง่วงเหมือนปลิดทิ้ง แต่วิธีนี้ท่านหญิงที่โป๊ะแป้งมาหนาๆ หรือแต่งหน้าจัดๆ อาจจะไม่ชอบสักเท่าไร


ทั้งหมดเป็นวิธีแก้ง่วงแบบง่ายๆ ที่สามารถทำได้แบบชิลๆ แถมได้ผลดีและไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย แน่นอนว่าทำงานด้วยความสดชื่นและไม่ง่วงก็จะทำให้งานออกมาดีและมีผลต่อหน้าที่การงานในอนาคตด้วยนั่นเอง